หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณทิต
(Doctor of Pharmacy)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย
เภสัชศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ
Doctor of Pharmacy
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย ชื่อเต็ม :
เภสัชศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : ภ.บ.
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Doctor of Pharmacy
ชื่อย่อ : Pharm. D.
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรมีความมุ่งหมายที่จะเป็นหลักสูตรชั้นนำของประเทศและมีมาตรฐานระดับสากลในการผลิตบัณฑิตเภสัชศาสตร์
ที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานดูแลประชาชนและผู้ป่วยด้านการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยอาศัยปรัชญาการบริบาลทางเภสัชกรรม
เพื่อสร้างประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศไทย
การประกอบอาชีพ
เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม
สามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม
(การดูแลผู้ป่วยในกระบวนการใช้ยา) ทั้งในหน่วยงานของราชการต่างๆ เช่น โรงพยาบาล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และภาคเอกชน เช่น เภสัชกรร้านยา
เภสัชกรการตลาด เภสัชกรการบริหารงานวิจัยทางคลินิก
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา
-
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์
หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติตามระเบียบการสมัครสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
หรือตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือคณะกรรมการบริหารคณะเภสัชศาสตร์ประกาศกำหนด
-
ต้องผ่านการตรวจร่างกาย
และตรวจสุขภาพจิตว่ามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจาก โรค อาการของโรค
หรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม
เช่น ปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง รวมถึงความผิดปกติในการเห็นภาพ ได้แก่
ตาบอดสีทั้งสองข้าง
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกาาแบบทวิภาค ในแต่ละปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา
(Semester) คือ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อน (Summer
session) ต่อจากภาคการศึกษาปลายอีกหนึ่งภาค
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตร 6 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มการเรียนวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า มีระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า 12
ภาคการศึกษา และไม่เกิน 20 ภาคการศึกษา